เป็นข่าวดีสำหรับแฟนๆ ของ Mercedes-Benz ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมัน ที่ล่าสุดได้ประกาศเดินหน้าสายการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า EQS อย่างเป็นทางการแล้วในประเทศเยอรมัน ซึ่งโมเดล EQS นับว่าเป็นนวัตกรรมยานยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ยอดเยี่ยมที่สุดเท่าที่ Mercedes จะผลิตได้ในช่วงเวลานี้
[adsforwp id=”1302″]
Mercedes-Benz EQS รถยนต์ซีดานพลังงานไฟฟ้า ที่เปิดตัวในฐานะของรถ Concept มาตั้งแต่ปี 2018 โดยผ่านการพัฒนาโดยทีมเฉพาะทางบนแพลตฟอร์ม EV โดยเฉพาะ ตัวรถจะมีขนาดความยาวเทียบเท่ากับ Mercedes S-CLass รุ่นฐานล้อยาวรุ่นใหม่ที่พึ่งเปิดตัวในประเทศจีน โดยทางผู้ผลิตจะใช้โรงงาน Factory 56 ที่ตั้งอยู่ในย่าน Sindelfingen ของประเทศเยอรมันเป็นฐานในการผลิตหลัก
จากข้อมูลที่ได้มานั้นโรงงาน Factory 56 มีจำนวนพนักงานในการประกอบตัวรถที่มากถึง 1,500 คน วนเวียนกันทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งมีส่วนในการประกอบโมเดลที่หลากหลายจาก Mercedes-Benz S-Class รุ่นมาตรฐานและฐานล้อยาวและ Mercedes-Maybach S-Class ซึ่งจะควบคุมสายการผลิตและตรวจสอบด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งส่งผลให้ในหนึ่งไลน์การผลิตนั้นสามารถผลิตรถยนต์ได้มากกว่า 1 รุ่นในคราวเดียว
[adsforwp id=”1302″]
สำหรับ Mercedes EQS นั้นจะมีด้วยกันสองรุ่นในการผลิตล็อตแรก โดยจะแบ่งตามจำนวนมอเตอร์และระบบขับเคลื่อน โดยรุ่นเริ่มต้นนั้นจะใช้มอเตอร์เดี่ยวกำลังขับ 329 แรงม้า (HP) กับระบบขับเคลื่อนแบบ RWD มีความสามารถในการเร่งความเร็วจาก 0-10 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในเวลา 6.2 วินาที และรุ่นมอเตอร์คู่ 516 แรงม้า (HP) ความสามารถจาก 0-10 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในเวลา 4.3 วินาที โดยทั้งสองจะมาพร้อมกับแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ที่ส่งให้ตัวรถสามารถวิ่งทำระยะในการทดสอบ WLTP ได้ไกลถึง 770 กิโลเมตรต่อการชาร์จไฟหนึ่งรอบ และยังมีข่าวเสริมอีกว่ารุ่นประสิทธิภาพสูงที่จะแปะตรา AMG นั้นจะมาพร้อมกับมอเตอร์คู่ กำลังขับ 715 แรงม้า (HP) ก็จะเริ่มผลิตหลังจากล็อตแรกของ EQS เสร็จสิ้นในช่วงปลายปีนี้
Markus Schafer สมาชิกของคณะกรรมการบริหาร Mercedes-Benz กล่าวถึงการผลิตในครั้งนี้ไว้ว่า “EQS ถือเป็นก้าวสำคัญในเส้นทางสู่ความทะเยอทะยานของเราในปี 2039 ซึ่ง Mercedes – Benz กำลังดำเนินการอย่างเข้มข้นในกลุ่มรถใหม่ที่มีคาร์บอนไดออกไซด์เป็นกลาง เรานำเสนอรถเก๋งหรูพลังงานไฟฟ้าที่เหนือกว่าใคร ด้วยระยะทางในการวิ่งที่มากกว่า และเหนือกว่าใครถ้าเทียบกับคู่แข่งในตลาดปัจจุบัน ในขณะเดียวกัน EQS หมายถึงความคุ้มค่าที่ยั่งยืนตั้งแต่การพัฒนาไปจนถึงการจัดซื้อการผลิตและกระบวนการชาร์จไปจนถึงการรีไซเคิล”
Credit : www.carscoops.com
[adsforwp id=”1302″]