Toyota ผู้ผลิตรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่น เป็นอีกหนึ่งผู้ผลิตที่มีการวางแผน Greenification ที่ตั้งเป้าเป็นผู้ผลิตยานพาหนะที่ปราศจากการปล่อยมลพิษแบบ 100% ภายในปี 2035 โดยเราจะเห็นได้ว่าทางบริษัทมีการพัฒนาตัวรถในรูปแบบ Hybrid ที่มากขึ้น รวมไปถึงยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงในรูปแบบต่างๆ และล่าสุดกับการเปิดตัว Toyota bZ4X รถยนต์แห่งอนาคตเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
[adsforwp id=”1302″]
โดยล่าสุด Toyota ได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของงาน Kenshiki โดย Gill Pratt หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของ Toyota Motor Corporation กล่าวว่า “วิธีลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิมากที่สุดทั่วโลกคือการใช้ทุกรายการในกล่องเครื่องมือของเรา รวมถึง Hybrid Electric, Plug-in Hybrid Electric, Battery Electric และ Fuel Cell Electric Vehicles ด้วยสัดส่วนของแต่ละรายการที่ปรับให้เหมาะสมเพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานและสถานการณ์ของลูกค้าในทุกภูมิภาค และอุปทานที่จำกัดและการปรับปรุงประสิทธิภาพของแบตเตอรี่”
จากคำกล่าวที่ผ่านมานั้น สามารถเชื่อมโยงกับแนวทางในการพัฒนายานพาหนะของ Toyota ได้อย่างมากมาย เราจะเห็นได้ว่า Toyota นั้นไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเฉพาะยานพาหนะพลังงานไฟฟ้าแต่อย่างเดียว เรายังเห็นการพัฒนาเครื่องยนต์สำหรับเชื้อเพลิงไฮโดรเจน และพลังงานทางเลือกอื่นๆ อีกมากมาย
โดยเจ้ายานพาหนะเชื้อเพลิงทางเลือกเหล่านี้เราจะเรียกมันรวมๆว่า ZEV โดยข้อมูลขจากกรมขนส่งในหลายๆประเทศในยุโรป ได้ชี้ชัดว่าภายในปี 2030 นี้ ยานพาหนะประเภท ZEV นี้จะมีมากกว่า ยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมัน ในการใช้งานจริง รวมไปถึงจะเป็นแกนหลักในการใช้งานในระบบขนส่งมวลชนทั้งภายในประเทศ หรือระหว่างประเทศอีกด้วย
[adsforwp id=”1302″]
Matt Harrison ประธานและซีอีโอของ Toyota Motor Europe ได้กล่าวเสริมไว้ว่า “ก้าวข้ามปี 2030 เราคาดว่าจะเห็นความต้องการ ZEV เพิ่มขึ้นอีก และพวกเราก็พร้อมที่จะบรรลุการลด CO2 100% ในรถยนต์ใหม่ทั้งหมดภายในปี 2035โดยสมมติว่ามีโครงสร้างพื้นฐานที่ชาร์จไฟฟ้าและเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนเพียงพอแล้ว ด้วยการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่จำเป็น”
กลยุทธ์ส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ซึ่งจะรวมถึงแบตเตอรี่ NiMh แบบสองขั้วใหม่ ซึ่งมี Toyota เป็นแกนนำในการพัฒนา โดยได้มีการกล่าวถึงว่าการพัฒนานั้นจะเน้นไปที่การทำให้ราคาต้นทุนในการผลิตนั้นต่ำที่สุด แต่ด้วยราคาที่ไม่สูงนั้น จะต้องมีประสิทธิภาพและวงจรการใช้งานที่ยาวนานขึ้น มากกว่าแบตเตอรี่แบบ NiMh ที่เราคุ้นเคย
ผู้ผลิตรถยนต์ยังวางแผนที่จะใช้เทคนิคที่เรียนรู้เกี่ยวกับแบตเตอรี่เหล่านี้กับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน หวังว่าจะบรรลุประสิทธิภาพเพิ่มเติมที่จะลดต้นทุนลง 50% โดยที่ระยะทางในการวิ่งนั้นต้องไม่ลดลง และมีความคาดหวังว่าความก้าวหน้าเหล่านี้จะพร้อมสำหรับการเดินทางในช่วงก่อนเปลี่ยนสู่ปี 2030 และจะทำให้เทคโนโลยีแบตเตอรี่มีราคาไม่แพงและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
ผู้ผลิตรถยนต์ยังยืนยันด้วยว่า หลังจากการทดสอบต้นแบบเมื่อปีที่แล้ว เทคโนโลยีแบตเตอรี่ solid-state จะถูกบรรจุอยู่ในรถยนต์แบบไฮบริดก่อน ที่จะจะนำไปใช้ในยานพาหนะประเภทอื่นๆในวงกว้าง และมีแนวโน้มว่ามันระบุว่าเทคโนโลยีนี้จะนำไปใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ เนื่องจากมันสัญญาว่าจะขยายช่วงและลดเวลาในการชาร์จ
Credit : www.carscoops.com
[adsforwp id=”1302″]